เมนู

พรหมทัณฑ์อันสงฆ์พึงระงับแก่ภิกษุนั้น ผู้ประพฤติชอบแล้ว ขอโทษ
อยู่โดยสมัยอื่น. ก็แลสงฆ์พึงระงับอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์ แก่ภิกษุโน้น, ภิกษุนั้น เสงี่ยมแล้ว ประพฤติเจียมตัว
หันเข้าหาลัชชีธรรมแล้ว ตั้งมั่นในหิริโอตตัปปะแล้ว พิจารณาแล้ว ตั้งอยู่ใน
สังวรต่อไป, ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า การระงับพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
นั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ?. พึงกล่าวอย่างนี้ เพียงครั้งที่ 3 ระงับพรหมทัณฑ์เสีย
ด้วยอปโลกนกรรมแล.

[กรรมลักษณะ]


สองบทว่า กมฺมลกฺขณญฺเญว ปญฺจมํ มีความว่า ในเรื่องเหล่านี้
ที่ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุฉัพพัคคีย์ เอาน้ำโคลนรด ภิกษุณีทั้งหลาย
ด้วยหมายว่า แม้ไฉนภิกษุณีทั้งหลายพึงรักใคร่ในพวกเรา เปิดกายอวดภิกษุณี-
ทั้งหลาย, ถลกขาอวดภิกษุณีทั้งหลาย, เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
พูดเกี้ยวภิกษุณีทั้งหลาย ชักสื่อกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยหมายว่า แม้ไฉน ภิกษุณี
ทั้งหลายพึงรักใคร่ในพวกเรา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทุกกฏแก่
ภิกษุเหล่านั้น แล้วทรงอนุญาตอวันทิยกรรมอันใด ไว้ในภิกขุนีขันธกะอย่างนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น, ครั้งนั้นแล ภิกษุ
ทั้งหลายได้มีความรำพึงเช่นนี้ว่า ทัณฑกรรม อันเราจะพึงทำอย่างไรหนอ ?
จึงกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นอันภิกษุณีสงฆ์ พึงทำให้เป็นผู้อันตนไม่ควรไหว้ ดังนี้.
อวันทิยกรรมนั้น ย่อมเป็นกรรมลักษณะแท้ ย่อมเป็นฐานะที่ครบ 5 แห่ง
อปโลกนกรรมนี้.

จริงอยู่ อวันทิยกรรมนั้น เป็นลักษณะคือกรรมแห่งอปโลกนกรรม
นั้น หาหลายเป็นอย่างอื่นมีโอสารณาเป็นต้นไม่. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
กรรมลักษณะ. การทำอวินทิยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ใน
ภิกขุนีขันธกะนั้นแล้วแล.
อีกประการหนึ่ง เพื่อแสดงอวันทิยกรรมนั้นกับทั้งกิริยาที่ระงับโดย
พิสดาร ข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในกัมมวัคค์แม้นี้ :-
ภิกษุณีผู้ขลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งประชุม
กันในสำนักภิกษุณีว่า แม่เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น
แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็น
ผู้อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์
เป็นครั้งที่ 2 ฯลฯ เป็นครั้งที่ 3 ว่า แม่เจ้า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น แสดง
อาการไม่น่าเลื่อมใส แก่ภิกษุณีทั้งหลาย, การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้
อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? อวันทิยกรรมอันภิกษุณีสงฆ์
พึงสวดประกาศ 3 ครั้ง ทำด้วยอปโลกนกรรมอย่างนี้.
จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงไหว้. ถ้าว่าภิกษุนั้น
อันภิกษุณีทั้งหลายไม้ไหว้อยู่ กลับเกิดหิริและโอตตัปปะขึ้นแล้ว ประพฤติ
ชอบไซร้, ภิกษุณีทั้งหลายอันเธอพึงขอโทษ. เมื่อจะขอโทษ ไม่พึงไปสู่สำนัก
ภิกษุณี พึงเข้าหาสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปหนึ่ง ในวิหารนั่นเอง นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี ขอโทษว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาแล้ว จะตั้งอยู่ใน
สังวรต่อไป, จักไม่แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสอีก, ขอภิกษุณีสงฆ์ จงอดโทษ
แก่ข้าพเจ้าเถิด.

สงฆ์หรือคณะนั้น พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป หรือภิกษุรูปหนึ่งนั้นพึงไป
เองทีเดียว แล้วกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายว่า ภิกษุนี้พิจารณาแล้ว ตั้งอยู่ในสังวร
ต่อไป ภิกษุณีสงฆ์ อันภิกษุนี้สารภาพโทษแล้ว ขอโทษแล้ว, ขอภิกษุณี
สงฆ์ จงทำภิกษุนี้ให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้เถิด. ภิกษุนั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงทำ
ให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้.
ก็แลเมื่อจะทำ พึงทำอย่างนี้ :-
ภิกษุณีผู้ฉลาด พึงสวดประกาศ โดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ผู้ประชุม
กันในสำนักภิกษุณีว่า แม้เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น
แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย; พระผู้เป็นเจ้านั้น อันภิกษุณี
สงฆ์ทำให้เป็นผู้อันตนไม่พึงไหว้แล้ว หันเข้าหาลัชชีธรรม พิจารณาแล้ว ตั้ง
อยู่ในสังวรต่อไป สารภาพโทษแล้ว ขอโทษภิกษุณีสงฆ์อยู่, การทำพระผู้
เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้อันภิกษุณีทั้งหลายพึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? พึงกล่าว
3 ครั้ง. ภิกษุนั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้ด้วยอปโลกน-
กรรมนั่นแล อย่างนี้.

[กรรมลักษณวินิจฉัย]


ก็ในกัมมวัคค์นี้ มีวินิจฉัยกรรมลักษณะแม้ที่พ้นจากบาลี พึงทราบ
ดังต่อไปนี้ :-
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า กรรมลักษณะ ทรงบัญญัติมีภิกษุณีสงฆ์เป็นมูล
แต่ย่อมได้แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยแท้.